วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ปัจจุบันความรู้ทางการแพทย์เป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่ทุกคนให้ความสำคัญ และมีบทบาทในชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะด้วยความทันสมัยทางเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้มากขึ้น แต่บุคคลทั่วไปน้อยคนนักที่จะให้ความสำคัญและมีความรู้เกี่ยวกับด้านการแพทย์เหมือนอย่างผู้ที่ศึกษาด้านการแพทย์โดยตรง วันนี้เราเลยมาแนะนำอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการแพทย์เพิ่มเติมให้มากขึ้น นั่นก็คือ “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” ส่วนสถานที่แห่งนี้จะมีความเป็นมาอย่างไร และจะมีอะไรน่าสนใจบ้างนั้น ตามเราไปชมกันเลยจ้า
tt1_1
t1_3


พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เป็นพิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราช ที่เริ่มต้นมาจากการเก็บและจัดแสดงสิ่งของซึ่งเป็นสิ่งเรียนรู้ทางการแพทย์ในแต่ละภาควิชา โดยในปี พ.ศ. 2525 มีพิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวมภายโรงพยาบาลถึง 13 แห่ง แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ถูกลดลงให้เหลือเพียง 6 แห่ง ที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม
เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรี จำนวน 33 ไร่ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ จึงมีการเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล และวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ ซึ่งพิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในโครงการย่อยเหล่านั้น พร้อมทั้งได้มีการ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ในส่วนของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชขึ้น เพื่อให้รับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในศิริราช รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ รวมเป็น “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” หรือ “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” ในปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ถือเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ในพื้นที่สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช เพื่อเปิดประสบการณ์ การเรียนรู้ ทั้งด้านประวัติศาสตร์การแพทย์, การก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช, โรงเรียนแพทย์แห่งแรก, พัฒนาวิทยาการแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ทันสมัย ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ควบคุมทั้งสื่อนำเสนอและระบบการเข้าชม สามารถรองรับการเยี่ยมชมได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบหมู่คณะคราวละหลายร้อยคน หรือผู้สนใจที่มาแบบส่วนตัวก็ได้เช่นกัน
 สำหรับพิพิธภัณฑ์ที่ยังคงเหลืออยู่ 6 แห่ง สำหรับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และคลังวัตถุทรงคุณค่า สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชมได้อยู่นั้น มีดังนี้

tt1
tt1-2
tt1-3
ศ.นพ.เอลเลอร์ จี. เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรกของไทย ชาวอเมริกัน ได้เข้ามาช่วยพัฒนาศิริราชตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2462-2464 และ 2466-2471 โดย ศ.นพ.เอลลิส ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาในศาลาปาโถโลยีขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ทำการและสถานที่สำหรับเรียนพยาธิวิทยาในสมัยแรก ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตึกถูกระเบิดทำลายเกือบทั้งหมด พยาธิแพทย์รุ่นหลังจึงได้รวบรวมสิ่งแสดงต่าง ๆ ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่และใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส” เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์และเป็นอนุสรณ์แด่ท่าน ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติพยาธิวิทยาในประเทศไทย, ห้องจำลอง, การปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาที่ตึกเสาวภาคย์ แสดงระบบการทำงานของหัวใจปกติและโรคหัวใจ พัฒนาการและความพิการแต่กำเนิดของทารก รวมทั้งโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในเพศชายและหญิง พร้อมแนวทางการรักษาและป้องกัน จัดแสดงด้วยสิ่งของจริงพร้อมหุ่นจำลองประกอบ

tt2_1
tt2-2
tt2-3
ตั้งขึ้นในสมัยของ ศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มงานด้านนิติเวชศาสตร์ของศิริราช และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ ในขณะนั้น ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วยส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับนิติพยาธิ แสดงชิ้นส่วนอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ตายด้วยโรคตามธรรมชาติและตายโดยผิดธรรมชาติ, การจัดแสดงเกี่ยวกับยาเสพติดชนิดต่าง ๆ วัตถุพยานจากคดีต่าง ๆ เช่น คดีฆาตกรรม, ฆ่าตัวตาย, อุบัติเหตุ ฯลฯ รวมทั้งการจัดแสดงกะโหลกศีรษะจำนวนมากที่ได้จากการทดลองยิง เพื่อการศึกษาทิศทางบาดแผลในระยะต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการชันสูตรพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 และมีการจัดแสดงศพต่าง ๆ เช่น ศพซีอุย, ศพไม่เน่า และเสื้อผ้าในวันเกิดเหตุของคดีนวลฉวี เป็นต้น

tt3_1
tt3-3

t33
ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2513 โดย ศ.นพ.วิจิตร ไชยพร ที่ได้เก็บรวบรวมตัวอย่างสิ่งแสดงจากผู้ป่วย จากการตรวจศพ ฯลฯ ไว้ใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ โดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ แต่ในภายหลังมีการจัดแสดงแบ่งเป็นหมวดหมู่ และได้เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ที่ต้องการให้คนดูตระหนักถึงอันตราย และโทษของการบริโภคแบบผิด ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น พยาธิตัวกลม, พยาธิตัวแบน, โปรโตซัวทางการแพทย์ และแมลงนำโรค สัตว์มีพิษ ฯลฯ ซึ่งแต่ละหมวดหมู่ประกอบไปด้วยสิ่งแสดงหลากหลาย เช่น อวัยวะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อปรสิต โดยเฉพาะอัณฑะของผู้ป่วยโรคพยาธิเท้าช้างซึ่งหนักถึง 35 กิโลกรัม, ตัวพยาธิของจริง, หุ่นจำลองแบบต่าง ๆ, แผ่นภาพเกี่ยวพยาธิ, การจัดแสดงตู้จำลองแสดงการติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดต่าง ๆ และมีการจัดแสดงสภาพแวดล้อมของสัตว์มีพิษ เช่น แมงมุมพิษ, ตะขาบ และ แมงป่อง เป็นต้น

tt4
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดย ศ.เอ็ดการ์ เดวิดสัน คองดอน ซึ่งคนแรกที่เข้ามาปรับปรุงการศึกษาแพทย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2470 ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร ก็ได้มาพัฒนาต่อจนกลายเป็นพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ และเปิดเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2491 ภายในพิพิธภัณฑ์มีส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ห้อง คือ ห้องแรก แสดงสิ่งแสดงทางกายวิภาคทั่วไป ประกอบด้วย ภายวิภาคของอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ เช่น หู, ตา, จมูก, ลิ้น, การจัดแสดงระบบประสาท, ระบบหลอดเลือด, การจัดแสดงการเจริญเติบโตตามอายุ ตั้งแต่ embryo ขนาดเล็ก ทารกในครรภ์ขนาดต่าง ๆ จนถึงระยะคลอด และการจัดแสดงอวัยวะตามระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินหายใจ และการจัดแสดง ร่างกายมนุษย์ตัดตามขวางตลอดตัว
tt4-2
tt4-3
ส่วนในห้องที่ 2 มีจัดแสดงเฉพาะกระดูกและข้อต่อ อาทิ การจัดแสดงกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย รวมทั้งกะโหลกซึ่งแยกเป็นชิ้น ๆ, การแสดงส่วนประกอบของกระดูก, การแสดงข้อต่อแบบต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงโครงกระดูกของบุคคลในวงการแพทย์ท่านต่าง ๆ อีกด้วย และหนึ่งไฮไลท์ที่สำคัญ คือ การจัดแสดงเส้นประสาททั้งร่างกาย, หลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งแสดงทางกายวิภาคที่มีอยู่ชิ้นเดียวในโลกที่ตั้งในพิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้เท่านั้น

tt5
tt5-2
tt5-3

ก่อตั้งโดย ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร อดีตหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และอดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2515 ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยการจัดแสดงเรื่องราววิวัฒนาการของมนุษย์, แผนภูมิวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มไพรเมตตั้งแต่ 70 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน ต่อด้วยเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของพื้นโลก เริ่มจากแผนภูมิแสดงระยะเวลาสิ่งมีชีวิตเมื่อราว 550 ล้านปีมาแล้ว รวมถึงกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอายุประมาณ 70 ล้านปี มีการจัดแสดงเป็น 3 สมัย เช่น สมัยหินเก่า มีเครื่องมือหิน อายุ มากกว่า 10,000 ปี, สมัยหินกลาง มีเครื่องมือหิน อายุประมาณ 10,000 ปี และเครื่องใช้เครื่องประดับสมัยหินใหม่ อายุประมาณ 4,000 ปี รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาเขียนสีแบบต่าง ๆ พร้อมตัวอย่างสิ่งจัดแสดงทั้งหมดที่เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพื้นที่วังหลัง-บางกอกน้อย ที่มีเรื่องราวยาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา, ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ด้วยหลักฐานสำคัญ เช่น ศาสตราวุธของกรม, พระราชวังหลัง, ฐานป้อมพระราชวังหลัง, เรือไม้ขนาดใหญ่ และเครื่องถ้วยโบราณ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีโรงภาพยนตร์ 4D และเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านวิถีชีวิตชุมชนจำลอง พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานอีกด้วย
ระเบียบการเข้าชมพิพิธภัณฑ์
1. ห้ามถ่ายภาพก่อนได้รับอนุญาต
2. ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มภายในพิพิธภัณฑ์
3. ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้เข้าชมท่านอื่น
4. ห้ามนำกระเป๋าใบใหญ่เข้าไปในบริเวณห้องจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ
สำหรับผู้ที่สนใจต้องการเพิ่มประสบการณ์และความรู้ทางการแพทย์ให้มากขึ้น ก็สามารถเดินทางไปได้ แต่อย่าลืมที่จะเคารพกฎระเบียบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งเรียนรู้ ที่เป็นเหมือนสมบัติล้ำค่าทางการศึกษาด้วย
การเดินทาง

2 ความคิดเห็น: