วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

สวนนกท่าเสด็จ (หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ)
สวนนกท่าเสด็จ (หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ)
สวนนกท่าเสด็จ (หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ) ตั้งอยู่ที่บ้านท่าเสด็จ ตำบลสระแก้ว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามทางสายสุพรรณบุรี-ดอนเจดีย์ (ทางหลวงหมายเลข 322) กิโลเมตรที่ 6-7 เข้าถนนคันคลองไปประมาณ 2 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 200 เมตร
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของนกนานาชนิด สภาพพื้นที่ของสวนนก มีต้นไม้หลายชนิดขึ้นปะปนกัน ได้แก่ มะขามเทศ มะม่วง จามจุรี ตะโก กระถิน ข่อย สะแก ต้นไผ่ ต้นตาล ฯลฯ มีนกอยู่อย่างหนาแน่นนับหมื่นตัว อาทิ นกกาน้ำ นกยางเปีย นกยางควาย นกยางกรอก นกแขวก นกเอี้ยง นกปากห่าง นกช้อนหอย นกกระสา และที่น่าดูมากคือ นกกาบบัว นกเหล่านี้มีทั้งนกที่อยู่ประจำและเป็นนกอพยพตามฤดูกาล มาออกไข่ ฝัก กกตัวอ่อน หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกัน ช่วงที่น่าชมคือช่วงเช้าเป็นช่วงที่ต่างก็ถลาบินจากรังออกไปหากิน ช่วงกลางวันก็มีนกที่หากินกลางคืนที่กลับมาเฝ้ารัง รวมทั้งนกกกลูกอ่อน ช่วงเย็นใกล้มืดนกจะพากันคืนรังเสียงเซ็งแซ่ระงมน่าดูน่าชมอีกช่วงหนึ่ง เดือนที่มีนกมากเป็นช่วงเดือนตุลาคม และเดือนถัดไป
นอกจากเป็นแหล่งชมนกแล้วยังเป็นแหล่งถ่ายภาพนกที่น่าสนใจ ที่ดินที่สวนนกนี้ เป็นที่ดินของป้านก พันธุ์เผือก เป็นพื้นที่ทั้งหมด ๒๐ ไร่ ป้านกเป็นผู้มีใจกุศลจึงปล่อยให้เหล่านกมาอาศัยทำรัง และขยายพันธุ์ ไม่รังแกทำร้าย เหล่านกพากันอพยพม่าชุมนุมอยู่เต็มยอดไม้ ยึดต้นไม่เป็นที่เกาะขาวพรืดไปหมด
สวนนกท่าเสด็จ (หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ)2
สวนนกท่าเสด็จ (หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ)1
สิ่งอำนวยความสะดวกในสวนนกท่าเสด็จ
หอดูนก มีกล้อง จำนวน ๕ กล้อง ประจำหอดูนก สำหรับให้บริการชมนกนานาพันธุ์ได้กระจ่างชัด มีศาลาที่พัก ซุ้มนั่งพัก สำนักงาน ห้องสมุด ห้องฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับนกและสัตว์ และมีสถานพยาบาลนกที่บาดเจ็บ สถานอนุบาลลูกนกที่พลัดแม่
เส้นทางเข้าสู่สวนนกท่าเสด็จ
แยกจากถนนมาลัยแมน ที่บ้านอู่ยา ไปตามเส้นทางสุพรรณบุรี-ดอนเจดีย์ ถึงบ้านท่าเสด็จบริเวณสระอภิเษก วนรถย้อนกลับ ๕๐๐ เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามถนนคันคลองส่งน้ำชลประทานประมาณ ๑.๘ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานถึงสวนนก
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรม หรือถ้ำบ่อปลา
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา5
ตั้งอยู่ที่ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก อยู่บริเวณเชิงเขาพระพุทธบาทน้อย เป็นภูเขาหินปูนที่มีระดับความสูงประมาณ 300 เมตร โดยหลวงพ่อสมศักดิ์ สุระธัมโม (นามเดิม สมบุญ จุ้ยสาย) เป็นผู้ค้นพบตัวถ้ำ ซึ่งกว่าที่จะมาเป็นถ้ำบ่อปลาหรือวัดถ้ำเจริญธรรมดั่งปัจจุบันนี้
ประวัติถ้ำพระธาตุเจริญธรรม หรือถ้ำบ่อปลา
หลวงพ่อสมศักดิ์ สุรธัมโม (นามเดิม สมบุญ จุ้ยสาย) ได้บวชที่วัดปรินายกราชวรวิหาร กรุงเทพ หลังจากบรรพชาครบพรรษาแล้ว หลวงพ่อได้ขอลาเจ้าอาวาสออกจาริกธุดงค์กับเพื่อนพระอีก 1 องค์ จนมาพบสถานที่สงบ บริเวณภูเขาบ่อปลาแห่งนี้ หลวงพ่อเห็นว่าบริเวณเขาดูสงบ และเหมาะแก่การนั่งวิปัสสนาถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา2
ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 หลวงพ่อได้ขอกราบลาท่านเจ้าอาวาสวัดปรินายกฯ มาจำพรรษาที่บริเวณถ้ำแห่งนี้ เมื่อมาจำพรรษาใหม่ๆ หลวงพ่อจำพรรษาบริเวณเชิงเขาโดยปักกรด ชาวบ้านนำอาหารมาถวายแต่เช้า หลวงพ่อต้องเก็บอาหารไว้ฉันท์เพลทุกวัน เพื่อไม่ใช้ยุ่งยากต่อมาหลวงพ่อจึงฉันท์อาหารมื้อเดียว
เมื่อว่างจากการนั่งวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อจะสำรวจบริเวณรอบๆภูเขาเป็นประจำ เห็นบริเวณภูเขามีช่องเล็กๆ พอคนเข้าไปได้ หลวงพ่อจึงเข้าไปเห็นภายในภูเขาเป็นถ้ำ สวยงามมาก มีหินงอกหินย้อยเป็นลวดลายต่างๆ ตระการตา แต่ทางเข้าลำบากมาก หลวงพ่อจึงมีความคิด อยากให้บุคคลภายนอกได้มาเห็นความสวยงามนี้เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ในอนาคต จึงได้พัฒนาพื้นที่บริเวณบ่อปลานี้ขึ้น
สำหรับในปัจจุบัน หากนักท่องเที่ยวมาถึงบริเวณวัดแล้ว จะได้สัมผัสกับความเงียบสงบ ร่มรื่น ร่มเย็น ของบริเวณวัด จากปากทางเข้าถ้ำจะปูด้วยหินอ่อนเป็นทางเดินชมทั่วบริเวณถ้ำโดยตลอด ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา หนอกจากนี้ยัง แบ่งออกเป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ได้แก่
ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ได้แก่
ห้องที่ 1 ชื่อว่า “ถ้ำบ่อปลา” มีปลาว่ายน้ำเข้ามาในบริเวณถ้ำเป็นจำนวนมาก
ห้องที่ 2 ชื่อว่า “ถ้ำท้องพระโรง” มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีรูปร่างคล้ายเจ้าแม่กวนอิม และฮก ลก ซิ่ว
ส่วนห้องที่ 3 ได้แบ่งซอยเป็นห้องเล็ก ๆ มีจุดเด่นอยู่ที่หินงอกหินย้อยหลายรูปแบบ มีรูปร่างคล้ายหินปะการังซึ่งจะเข้าได้ในช่วงฤดูแล้ง
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา10
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา8
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา ทางเข้าถ้ำ
ถ้ำพระธาตุเจริญธรรมหรือถ้ำบ่อปลา7
นอกจากนั้นทางด้านหลังยังมีถ้ำขนาดใหญ่อีก 2 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำสามเขา และถ้ำเทพประทาน ถ้ำจะปิดในวันธรรมดา เปิดวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น. ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา
สิ่งดึงดูดใจ
จะมีลักษณะเป็นถ้ำอยู่สามถ้ำมีทางเดินติดต่อกัน ถ้ำแรกเรียกว่า “คูหาพระ” มีพระพุทธรูปประดิษฐานตามหลืบถ้ำ เลี้ยวขวาเดินตามช่องทางเล็ก ๆ จะพบอีกถ้ำหนึ่งเรียกว่า “คูหาท้องพระโรง” พื้นที่กว้างกว่าถ้ำแรก จากถ้ำนี้มีทางเดินไปอีกถ้ำหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่ละถ้ำจะมีบรรยากาศเย็น สงบ มีหินย้อย งดงามมาก
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีภิกษุคอยให้คำแนะนำอยู่ด้านหน้าถ้ำพระธาตุเจริญธรรม มีสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น น้ำ ไฟฟ้าห้องน้ำ
การเดินทาง
สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง
1. จากตัวเมืองสระบุรีไปตามถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตัวอำเภอแก่งคอย ผ่านตลาดแล้วข้ามสะพานอดิเรกสารซึ่งทอดข้ามแม่น้ำป่าสักไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ก็ถึงถ้ำพระธาตุเจริญธรรม
2. จากสระบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ทางไปจังหวัดลพบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงหน้าโรงเรียนพุแควิทยา ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนจะมีถนนสายพุแค-แก่งคอย เข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร
สุสานหอย ดอยภูแว น่าน
ภูแว-สุสานหอยล้านปี ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้าน ห้วยปูด ม.9 ต.ขุนน่าน โดยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ไปประมาณ 50 กิโลเมตร ภูแว เป็นภูผาหินสูงใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 ม. ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและมีลานหินกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ผาแอ่น ผาผึ้ง เมื่อถึงช่วงฤดูหนาวเป็นที่นิยมเดินขึ้นยอดดอยภูแว เพื่อชมบรรยากาศยามดวงอาทิตย์ขึ้น และทะเลหมอกที่ปกคลุมไปทั่วหุบเขา
สุสานหอย จะประกอบด้วยเทือกเขาหินที่มีหอยทะเล เช่น หอยแครง หอยกาบ ขนาดเล็กแทรกอยู่ และยังเห็นสภาพหอยอยู่อย่างชัดเจน บริเวณที่พบเป็นรอยต่อของเทือกเขาดอย ภูแว โดยเทือกเขาสุสานหอยจะอยู่ลาดต่ำลงมา ซึ่งสันนิษฐานว่าหอยแครงคงจะเป็นหอยที่มีน้ำหนักมากกว่า จึงตกตะกอนก่อนหินชนิดอื่นและเมื่อถูกดินโคลนทับถมภายใต้แรงกดดันและความร้อนจากพื้นโลก ตลอดถึงขบวนการทางเคมี ทำให้แปรสภาพเป็นหินแข็งและมีเปลือกหอยติดอยู่ในสภาพของ ฟอสซิล (phossil) ในส่วนที่เป็นเปลือกหอยที่เบากว่าจะตกตะกอนบริเวณที่ลึกลงไปอีก และเมื่อเกิดการดันตัวของเปลือกโลก จึงทำให้จุดที่ลึกที่สุดกลายเป็นดอยภูแว และถัดออกไปก็จะเป็นบริเวณที่อยู่ของสุสานหอยแครง ทั้งนี้เพราะว่าบริเวณดอยภูแวจะเป็นเทือกเขาหินปูนขาวไปทั้งลูก ซึ่งหินปูนก็จัดเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมตัวของซากเปลือกหอยหรือซากปะการังโบราณนั่นเอง

เส้นทางเข้าสู่สุสานหอย ดอยภูแว
เส้นทางไปดอยภูแว จะผ่านอำเภอเชียงกลาง โดยไปทางบ้านกอก บ้านชี แล้วแยกไปทางบ้านปางแกอำเภอทุ่งช้าง และโดยสารรถยนต์ไปตามเส้นทางนี้ไปจนถึงบ้านน้ำเปิน และบ้านค้างฮ่อ อำเภอปัว แล้วเดินทางต่อไปอีกจนถึงสุสานหอย หรือดอยภูแว ระยะทางประมาณ ๕๐ กิโลเมตร จากอำเภอเชียงกลาง หรือจะไปทางบ้านสกาด ตำบลสกาด ในเขตอำเภอปัว แล้วไปตามเส้นทางขุนน้ำปัวบ้านค้างฮ่อก็ได้

งานไม้ล้อม ไม้ใหญ่ พืชพรรณสมุนไพร บ้านดงบัง ปี 2556 (จ.ปราจีนบุรี)


บ้านดงบังเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ล้อม ไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย กำลังจะจัดงาน “ไม้ล้อม ไม้ใหญ่ พืชพรรณสมุนไพร บ้านดงบัง” ขึ้น ณ หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 10 – 13 พฤษภาคม  2556 ภายในงานมีทั้งการจำหน่ายต้นไม้ และงานออกร้าน การแข่งขัน การประกวดต้นไม้ และกิจกรรมอีกมายมาย ใครสนใจเรื่องต้นไม้ ไม่ควรพลาด
นางบังอร  วิลาวัลย์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี  องค์การบริหารส่วนตำบลดงขี้เหล็ก  และหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ ฯ  บ้านดงบัง  กำหนดจัดงานไม้ล้อม  ไม้ใหญ่  พืชพรรณสมุนไพรบ้านดงบัง ในวันที่ 10 – 13  พฤษภาคม 2556 ณ หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติตำบลดงขี้เหล็ก  อำเภอเมือง  จังหวัดปราจีนบุรี
dongbang56
กลุ่มชุมชนบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกไม้ประดับสำหรับจำหน่าย ให้กับนักจัดสวนและผู้ที่สนใจ ส่วนด้านล่างของพื้นที่ที่ปลูกพรรณไม้ใหญ่ จะปลูกแซมด้วยพืชสมุนไพรนานาชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นวัตถุดิบขั้นต้นส่งต่อให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และยาสมุนไพร
กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน   
• วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 การประกวดไม้ดอกไม้ประดับ  การประกวดจัดสวนหย่อม  และการประกวดร้องเพลง
• วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 การแข่งขันเปตอง  แข่งขันตำส้มตำ  ประกวดเต้นฮูลาฮูป  การประกวดร้องเพลง
• วันที่ 12 พฤษภาคม 2556 การประกวดนกกรงหัวจุก,  การจัดสวนถาด,  ไม้ดัด, การแสดงพื้นบ้านของชาวตำบลดงขี้เหล็ก
• วันที่ 13 พฤษภาคม 2556 การแข่งขันมอเตอร์ครอส
• จำหน่ายพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ ผลไม้ สินค้า OTOP สินค้าราคาถูก
• นิทรรศการต้นไม้
การเดินทาง  จากกรุงเทพ ฯ ใช้เส้นทางรังสิต – องครักษ์ – นครนายก ตามถนนทางหลวงหมายเลข  305  จากนั้นใช้ถนนทางหลวงหมายเลข  33  มุ่งหน้าสู่จังหวัดปราจีนบุรี  ผ่านวงเวียนศาลสมเด็จพระนเรศวรไปทางอำเภอประจันคาม
ปัจจุบันความรู้ทางการแพทย์เป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่ทุกคนให้ความสำคัญ และมีบทบาทในชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะด้วยความทันสมัยทางเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้มากขึ้น แต่บุคคลทั่วไปน้อยคนนักที่จะให้ความสำคัญและมีความรู้เกี่ยวกับด้านการแพทย์เหมือนอย่างผู้ที่ศึกษาด้านการแพทย์โดยตรง วันนี้เราเลยมาแนะนำอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการแพทย์เพิ่มเติมให้มากขึ้น นั่นก็คือ “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” ส่วนสถานที่แห่งนี้จะมีความเป็นมาอย่างไร และจะมีอะไรน่าสนใจบ้างนั้น ตามเราไปชมกันเลยจ้า
tt1_1
t1_3


พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เป็นพิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราช ที่เริ่มต้นมาจากการเก็บและจัดแสดงสิ่งของซึ่งเป็นสิ่งเรียนรู้ทางการแพทย์ในแต่ละภาควิชา โดยในปี พ.ศ. 2525 มีพิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวมภายโรงพยาบาลถึง 13 แห่ง แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ถูกลดลงให้เหลือเพียง 6 แห่ง ที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม
เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรี จำนวน 33 ไร่ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ จึงมีการเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล และวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ ซึ่งพิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในโครงการย่อยเหล่านั้น พร้อมทั้งได้มีการ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ในส่วนของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชขึ้น เพื่อให้รับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในศิริราช รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ รวมเป็น “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” หรือ “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” ในปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ถือเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ในพื้นที่สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช เพื่อเปิดประสบการณ์ การเรียนรู้ ทั้งด้านประวัติศาสตร์การแพทย์, การก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช, โรงเรียนแพทย์แห่งแรก, พัฒนาวิทยาการแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ทันสมัย ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ควบคุมทั้งสื่อนำเสนอและระบบการเข้าชม สามารถรองรับการเยี่ยมชมได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบหมู่คณะคราวละหลายร้อยคน หรือผู้สนใจที่มาแบบส่วนตัวก็ได้เช่นกัน
 สำหรับพิพิธภัณฑ์ที่ยังคงเหลืออยู่ 6 แห่ง สำหรับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และคลังวัตถุทรงคุณค่า สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชมได้อยู่นั้น มีดังนี้

tt1
tt1-2
tt1-3
ศ.นพ.เอลเลอร์ จี. เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรกของไทย ชาวอเมริกัน ได้เข้ามาช่วยพัฒนาศิริราชตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2462-2464 และ 2466-2471 โดย ศ.นพ.เอลลิส ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาในศาลาปาโถโลยีขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ทำการและสถานที่สำหรับเรียนพยาธิวิทยาในสมัยแรก ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตึกถูกระเบิดทำลายเกือบทั้งหมด พยาธิแพทย์รุ่นหลังจึงได้รวบรวมสิ่งแสดงต่าง ๆ ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่และใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส” เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์และเป็นอนุสรณ์แด่ท่าน ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติพยาธิวิทยาในประเทศไทย, ห้องจำลอง, การปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาที่ตึกเสาวภาคย์ แสดงระบบการทำงานของหัวใจปกติและโรคหัวใจ พัฒนาการและความพิการแต่กำเนิดของทารก รวมทั้งโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในเพศชายและหญิง พร้อมแนวทางการรักษาและป้องกัน จัดแสดงด้วยสิ่งของจริงพร้อมหุ่นจำลองประกอบ

tt2_1
tt2-2
tt2-3
ตั้งขึ้นในสมัยของ ศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มงานด้านนิติเวชศาสตร์ของศิริราช และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ ในขณะนั้น ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วยส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับนิติพยาธิ แสดงชิ้นส่วนอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ตายด้วยโรคตามธรรมชาติและตายโดยผิดธรรมชาติ, การจัดแสดงเกี่ยวกับยาเสพติดชนิดต่าง ๆ วัตถุพยานจากคดีต่าง ๆ เช่น คดีฆาตกรรม, ฆ่าตัวตาย, อุบัติเหตุ ฯลฯ รวมทั้งการจัดแสดงกะโหลกศีรษะจำนวนมากที่ได้จากการทดลองยิง เพื่อการศึกษาทิศทางบาดแผลในระยะต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการชันสูตรพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 และมีการจัดแสดงศพต่าง ๆ เช่น ศพซีอุย, ศพไม่เน่า และเสื้อผ้าในวันเกิดเหตุของคดีนวลฉวี เป็นต้น

tt3_1
tt3-3

t33
ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2513 โดย ศ.นพ.วิจิตร ไชยพร ที่ได้เก็บรวบรวมตัวอย่างสิ่งแสดงจากผู้ป่วย จากการตรวจศพ ฯลฯ ไว้ใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ โดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ แต่ในภายหลังมีการจัดแสดงแบ่งเป็นหมวดหมู่ และได้เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ที่ต้องการให้คนดูตระหนักถึงอันตราย และโทษของการบริโภคแบบผิด ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น พยาธิตัวกลม, พยาธิตัวแบน, โปรโตซัวทางการแพทย์ และแมลงนำโรค สัตว์มีพิษ ฯลฯ ซึ่งแต่ละหมวดหมู่ประกอบไปด้วยสิ่งแสดงหลากหลาย เช่น อวัยวะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อปรสิต โดยเฉพาะอัณฑะของผู้ป่วยโรคพยาธิเท้าช้างซึ่งหนักถึง 35 กิโลกรัม, ตัวพยาธิของจริง, หุ่นจำลองแบบต่าง ๆ, แผ่นภาพเกี่ยวพยาธิ, การจัดแสดงตู้จำลองแสดงการติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดต่าง ๆ และมีการจัดแสดงสภาพแวดล้อมของสัตว์มีพิษ เช่น แมงมุมพิษ, ตะขาบ และ แมงป่อง เป็นต้น

tt4
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดย ศ.เอ็ดการ์ เดวิดสัน คองดอน ซึ่งคนแรกที่เข้ามาปรับปรุงการศึกษาแพทย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2470 ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร ก็ได้มาพัฒนาต่อจนกลายเป็นพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ และเปิดเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2491 ภายในพิพิธภัณฑ์มีส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ห้อง คือ ห้องแรก แสดงสิ่งแสดงทางกายวิภาคทั่วไป ประกอบด้วย ภายวิภาคของอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ เช่น หู, ตา, จมูก, ลิ้น, การจัดแสดงระบบประสาท, ระบบหลอดเลือด, การจัดแสดงการเจริญเติบโตตามอายุ ตั้งแต่ embryo ขนาดเล็ก ทารกในครรภ์ขนาดต่าง ๆ จนถึงระยะคลอด และการจัดแสดงอวัยวะตามระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินหายใจ และการจัดแสดง ร่างกายมนุษย์ตัดตามขวางตลอดตัว
tt4-2
tt4-3
ส่วนในห้องที่ 2 มีจัดแสดงเฉพาะกระดูกและข้อต่อ อาทิ การจัดแสดงกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย รวมทั้งกะโหลกซึ่งแยกเป็นชิ้น ๆ, การแสดงส่วนประกอบของกระดูก, การแสดงข้อต่อแบบต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงโครงกระดูกของบุคคลในวงการแพทย์ท่านต่าง ๆ อีกด้วย และหนึ่งไฮไลท์ที่สำคัญ คือ การจัดแสดงเส้นประสาททั้งร่างกาย, หลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งแสดงทางกายวิภาคที่มีอยู่ชิ้นเดียวในโลกที่ตั้งในพิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้เท่านั้น

tt5
tt5-2
tt5-3

ก่อตั้งโดย ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร อดีตหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และอดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2515 ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยการจัดแสดงเรื่องราววิวัฒนาการของมนุษย์, แผนภูมิวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มไพรเมตตั้งแต่ 70 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน ต่อด้วยเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของพื้นโลก เริ่มจากแผนภูมิแสดงระยะเวลาสิ่งมีชีวิตเมื่อราว 550 ล้านปีมาแล้ว รวมถึงกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอายุประมาณ 70 ล้านปี มีการจัดแสดงเป็น 3 สมัย เช่น สมัยหินเก่า มีเครื่องมือหิน อายุ มากกว่า 10,000 ปี, สมัยหินกลาง มีเครื่องมือหิน อายุประมาณ 10,000 ปี และเครื่องใช้เครื่องประดับสมัยหินใหม่ อายุประมาณ 4,000 ปี รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาเขียนสีแบบต่าง ๆ พร้อมตัวอย่างสิ่งจัดแสดงทั้งหมดที่เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพื้นที่วังหลัง-บางกอกน้อย ที่มีเรื่องราวยาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา, ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ด้วยหลักฐานสำคัญ เช่น ศาสตราวุธของกรม, พระราชวังหลัง, ฐานป้อมพระราชวังหลัง, เรือไม้ขนาดใหญ่ และเครื่องถ้วยโบราณ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีโรงภาพยนตร์ 4D และเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านวิถีชีวิตชุมชนจำลอง พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานอีกด้วย
ระเบียบการเข้าชมพิพิธภัณฑ์
1. ห้ามถ่ายภาพก่อนได้รับอนุญาต
2. ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มภายในพิพิธภัณฑ์
3. ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้เข้าชมท่านอื่น
4. ห้ามนำกระเป๋าใบใหญ่เข้าไปในบริเวณห้องจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ
สำหรับผู้ที่สนใจต้องการเพิ่มประสบการณ์และความรู้ทางการแพทย์ให้มากขึ้น ก็สามารถเดินทางไปได้ แต่อย่าลืมที่จะเคารพกฎระเบียบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งเรียนรู้ ที่เป็นเหมือนสมบัติล้ำค่าทางการศึกษาด้วย
การเดินทาง
ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด” ดอนหอยหลอดมีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 แห่ง แห่งแรก ได้แก่ ดอนนอก อยู่บริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และอีกแห่งคือ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวนมากที่สุด จึงเป็นจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในเลน การจับหอยหลอด จะจับในช่วงน้ำลง โดยใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด
ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือบริเวณศาลาอาภร (ใกล้ศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์) เพื่อนั่งเรือไปชมดอนหอยหลอด ราคาเช่าลำละ 60 บาท (ไม่เกิน 6 คน) หรือ นักท่องเที่ยวคนละ 10 บาทต่อเที่ยว ชมปากอ่าว (ไม่เกิน 5 คน) ราคาเช่าลำละ 200 บาท หากต้องการเช่าไปเที่ยวชมทิวทัศน์ป่าชายเลน (ไม่เกิน 7 คน) ราคาลำละ 300 บาท นักท่องเที่ยวสามารถ
สอบถามรายละเอียดเวลาน้ำขึ้น – น้ำลง ได้ที่ อบต.บางจะเกร็ง โทร. 0 3472 3749, 0 3472 3736 หรือ ตารางน้ำขึ้น-น้ำลง ณ ดอนหอยหลอด จากมาตราน้ำ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ สนุบสนุนการจัดทำโดย มูลนิธิศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สมุทรสงคราม
บริเวณดอนหอยหลอดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีการแสดงดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 16.30 – 18.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและร้านขายสินค้าของที่ระลึกหลายร้านเรียงราย บริเวณดอนหอยหลอดขายสินค้าประเภทอาหารทะเลสด-แห้ง หอยหลอดสด-แห้ง น้ำปลา กะปิคลองโคน น้ำตาลปึก น้ำตาลสด ฯลฯ
ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม

ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม

ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม


การเดินทาง
รถยนต์
1. ไปยังหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว ไปตามถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม 2) ก่อนถึงหลักกิโลเมตรที่ 62 มีป้ายซ้ายบอกทางเข้าดอนหอยหลอด ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
2. ไปยังหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง ไปตามถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม 2) ประมาณกิโลเมตรที่ 64 ก่อนข้ามสะพานพุทธเลิศหล้านภาลัย เชิงสะพานมีป้ายบอกทางเข้าดอนหอยหลอดระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง
สามารถเดินทางโดยรถสองแถว มีรถออกตลอดทั้งวันจากตัวตลาดในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม ไปยังบ้านฉู่ฉี่ ดอนหอยหลอด
เรือ
การเดินทางไปยังดอนหอยหลอดนอก จากมีเรือขนาดต่าง ๆ บริการที่ท่าริมน้ำแม่กลอง ถ้าเป็นหมู่คณะใหญ่ประมาณ 40 คนขึ้นไป ติดต่อสอบถามล่วงหน้า ที่โรงเลื่อยจักรซุ่นฮวดเฮง คุณพรทิพย์ แสงวณิชโทร. 034-711466, 034-712558, 034-712451, 01-3785858 (มีบริการสั่งอาหารไปทานบนเรือ) หรือ ติดต่อที่ห้องขายตั๋วเรือข้ามฟากริมแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

2-4 เมษายน 2554 นี้ หากคุณยังไม่มีนัดไปกับใครที่ไหน จงทำตัวให้ว่างเข้าไว้...
เพราะในช่วงสุดสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึงในช่วงต้นเดืิอนหน้า สนุก! ท่องเที่ยว จะมาชวนคุณไปเที่ยว 'งานประจำปีเมืองแก่งคอย ย้อนรอยสงครามโลก' ณ วัดแก่งคอย อ.แก่งคอย จ. สระบุรี ที่จะพาคุณไปเที่ยวเมืองเก่าย้อนรอยประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้คำขวัญเก๋ๆ ว่า 'เลาะแก่ง เลียบวัด รับพาข้าว เคล้าละคร จรตลาด กราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ย้อนอดีตเมืองแก่งคอย'โดยภายในงานมีกิจกรรมมากมายทั้งการแสดงแสงสีเสียง การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง การประกวดธิดาแก่งคอย เดินเที่ยว เดินชมและจับจ่ายซื้อของในตลาดย้อนยุค แต่ที่ไปแล้วพลาดไม่ได้เลยก็คือ การหาของกินอร่อยๆ ที่รสชาติไม่ธรรมดาและราคาเป็นกันเอง ซึ่ง สนุก! ท่องเที่ยว ได้ไปซอกแซกรวบรวมมาฝากคุณผู้อ่านแล้ว
(บนซ้าย) ขนมใบบัว  (บนขวา) ขนมต้ม 
(ล่าง) ขนมถ้วยฟู
(บนซ้าย) ข้าวแต๋น   (บนขวา) ขนมถ้วย 
(ล่าง) ขนมไข่
(บนซ้าย) ทองม้วน  (บนขวา) ขนมธัญพืช 
(ล่าง) ขนมเบื้อง
(บนซ้าย) กล้วยปิ้ง  (บนขวา) ขนมใส่ไส้ 
(ล่าง) ทองหยอด เม็ดขนุน
(บนซ้าย) ขนมปังหน้าหมู (บนขวา) ผัดหมี่ 
(ล่าง) ขนมมัน ขนมกล้วย ขนมหัวหงอก
(บนซ้าย) ขนมจีนน้ำยา  (บนขวา) ย้ำแหนมคลุก
งานนี้งานใหญ่ของอร่อยมากมาย เตรียมท้องให้พร้อม แล้วไปสนุกชอป สนุกชิมในงานแก่งคอย ย้อยรอยสงครามโลกกันได้เลย 
เดินทางไปชิม
 - จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านตัวเมืองสระบุรีไปประมาณ 20 กม. เลี้ยวซ้ายเข้า อ. แก่งคอย
เรื่องและภาพ: กันต์ ณ ปกรณ์